วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

Bedini Motor คือ อะไร

Bedini Motor คือ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Monopole (ทำงานโดยอาศัยการผลักเพียงอย่างเดียว) ซึ่งถูกจดสิทธิบัตรโดย John C. Bedini ในปี 2003 ใช้ชื่อว่า "Device and method for utilizing a monopole motor to create back EMF to charge batteries" โดยสิทธิบัตรฉบับนี้จอห์นชี้ให้เห็นว่า เราจะสามารถใช้ Monopole Motor ชาร์จแบตเตอรี่ได้อย่างไร จากผลการทดลองของเขาพบว่าตัว Bedini Motor ทำงานโดยใช้กระแสน้อยมากในการขับ แต่สามารถจ่ายประจุออกมาจนสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้เต็ม


หลักการทำงานของ Bedini Motor

รูปที่ 1 แสดงภาพรวมของ Bedini Motor (อ้างอิงจากสิทธิบัตร)

หมายเลข 11 คือ Primary Battery ใช้จ่ายไฟให้กับมอเตอร์
หมายเลข 13 คือ Bedini Coil ซึ่งประกอบไปด้วยขดลวด 3 ชุด
  • ชุด 13b: Trigger coil ทำหน้าที่เหนี่ยวนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากฟลักซ์แม่เหล็กของโรเตอร์แล้วส่งกระแสเบสให้กับขา B ของ Transistor ทำให้ Transistor ทำงานได้ถูกจังหวะ โดยจะทำเฉพาะเวลาที่แม่เหล็กบนโรเตอร์กำลังเคลื่อนที่ออกจากหน้าตัดแกน Bedini Coil ดังนั้น แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำได้ต้องมากกว่า 0.7 V จึงทำให้ Transistor ทำงานได้ 
  • ชุด 13a: Power coil ใช้สรา้งแรงแม่เหล็ก ผลักตัวแม่เหล็กถาวรบนโรเตอร์ออกไป ทำให้โรเตอร์เกิดการหมุน 
  • ชุด 13c: Recovery coil ใช้เหนี่ยวนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากฟลักซ์แม่เหล็กของโรเตอร์และสนามแม่เหล็กที่ยุบตัวลงจาก Power coil (หลังจากที่ตัว Transistor หยุดทำงาน)
หมายเลย 23 คือ Bridge Diode ใช้แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรง
หมายเลข 24 คือ Capacitor แบบมีขั้ว ใช้เก็บประจุไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อไว้รอนำไปประจุเข้าแบตเตอรี่ ถ้าค่า C มีขนาดใหญ่ ประจุที่ถูกถ่ายเทเข้าแบตเตอรี่จะมีค่าสูง แบตเตอรี่จะเต็มเร็ว แต่ต้องใช้เวลามากในการอัดประจุเข้า C ดังนั้น ค่า C ที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมกับ Bedini Motor ที่ออกแบบ
หมายเลข 27, 28 คือ Commutator ที่ใช้ในการตัดต่อวงจรเพื่อถ่ายเทประจุจาก C ไปเก็บไว้ใน Charging Battery โดยจังหวะในการประจุรวมทั้งแรงดันที่ใช้ประจุ จะขึ้นกับการทดรอบโดยสายพาน หรือ อาจใช้เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
หมายเลข 29 คือ Charging Battery

รูปที่ 2 แสดงภาพรวมด้าน Top view ของ Bedini Motor (อ้างอิงจากสิทธิบัตร)




จาก 2 คลิป ข้างต้นได้แสดงการทำงาน Bedini Motor แบบ SSG ซึ่งแต่ต่างจาก Bedini Motor จากสิทธิบัตรตรงที่มันใช้ขดลวด Recovery coil ร่วมกับ Power coil ข้อดีของระบบนี้คือ ประหยัดขดลวด แต่ข้อเสียคือเราไม่สามารถแยกวงจรชาร์จแบตเตอรี่ออกจากวงจรกำลังได้

ประโยชน์ของ Bedini Motor

ตามปกติเดิมในการสร้างวงจรขับมอเตอร์ เช่น Brushless Motor เราจะพยายามลดผลเนื่องจาก Back EMF (แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดจากการยุบตัวของสนามแม่เหล็กในขดลวด) เพราะให้แรงดันสูงและอาจทำลายวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ Bedini Motor แสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานที่ต้องการกำจัดนี้ได้ นั่นคือ นำไปชาร์จแบตเตอรี่

รูปที่ 3 แสดงสัญญาณแรงดันที่ตกคร่อม Power coil (ทดสอบโดยผู้เขียนในปี 2015)

จากรูปที่ 3 พบว่าค่าสูงสุดอยู่ที่ 12 V ซึ่งเท่ากับแรงดันที่ใช้ขับ Bedini Motor และค่าต่ำสุดอยู่ที่ 310 V ซึ่งเป็นแรงดันที่เกิดขึ้นหลังจากที่สนามแม่เหล็กบน Power coil เกิดการยุบตัว (Back EMF) เป็นค่าที่สูงมากและสามารถทำลาย Transistor ได้ ถ้าหาว่า Transistor ตัวนั้นมีค่าแรงดัน C-E ต่ำกว่า Back EMF ที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างและผลการทดสอบ Bedini Motor โดยผู้เขียน

รูปที่ 4 แสดงภาพรวมของ Bedini Motor ของผู้เขียน

รูปที่ 5 แสดงวงจรการวัดแรงดัน Trigger Coil และ Power Coil โดยใช้ Differential probe x20

รูปที่ 6 แสดงแรงดันของขดลวด Power coil และ Recovery coil (ค่าในจอต้องคูณด้วย 20)

รูปที่ 7 แสดงวงจรวัดกระแสที่ใช้ประจุแบตเตอรี่ ด้วย Current probe 100 mV/A และตัว Hall sensor สำหรับวัดความเร็วรอบของโรเตอร์

รูปที่ 8 แสดงกระแสที่ใช้ประจุแบตเตอรี่ (อ่านค่าโดยคูณด้วย 100) และแรงดันผลต่างระหว่างตัวเก็บประจุที่ใช้และแบตเตอรี่ที่ถูกประจุ


รูปที่ 9 เปรียบเทียบกระแสที่ใช้ประจุแบตเตอรี่และกระแสที่ Bedini Motor ใช้งาน


คลิปแสดงการทดสอบ Bedini Motor โดยผู้เขียนในปี 2016

สามารถดูคลิปอื่น ๆ ได้ที่: Somsak Elect Youtube Chanel
ติดตามทาง Fackbook, Fanpage, Website

ขอบคุณผู้ร่วมสนับสนุนและติดตามทุก ๆ ท่าน 
😍😍😍