วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

Bedini Motor คือ อะไร

Bedini Motor คือ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Monopole (ทำงานโดยอาศัยการผลักเพียงอย่างเดียว) ซึ่งถูกจดสิทธิบัตรโดย John C. Bedini ในปี 2003 ใช้ชื่อว่า "Device and method for utilizing a monopole motor to create back EMF to charge batteries" โดยสิทธิบัตรฉบับนี้จอห์นชี้ให้เห็นว่า เราจะสามารถใช้ Monopole Motor ชาร์จแบตเตอรี่ได้อย่างไร จากผลการทดลองของเขาพบว่าตัว Bedini Motor ทำงานโดยใช้กระแสน้อยมากในการขับ แต่สามารถจ่ายประจุออกมาจนสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้เต็ม


หลักการทำงานของ Bedini Motor

รูปที่ 1 แสดงภาพรวมของ Bedini Motor (อ้างอิงจากสิทธิบัตร)

หมายเลข 11 คือ Primary Battery ใช้จ่ายไฟให้กับมอเตอร์
หมายเลข 13 คือ Bedini Coil ซึ่งประกอบไปด้วยขดลวด 3 ชุด
  • ชุด 13b: Trigger coil ทำหน้าที่เหนี่ยวนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากฟลักซ์แม่เหล็กของโรเตอร์แล้วส่งกระแสเบสให้กับขา B ของ Transistor ทำให้ Transistor ทำงานได้ถูกจังหวะ โดยจะทำเฉพาะเวลาที่แม่เหล็กบนโรเตอร์กำลังเคลื่อนที่ออกจากหน้าตัดแกน Bedini Coil ดังนั้น แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำได้ต้องมากกว่า 0.7 V จึงทำให้ Transistor ทำงานได้ 
  • ชุด 13a: Power coil ใช้สรา้งแรงแม่เหล็ก ผลักตัวแม่เหล็กถาวรบนโรเตอร์ออกไป ทำให้โรเตอร์เกิดการหมุน 
  • ชุด 13c: Recovery coil ใช้เหนี่ยวนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากฟลักซ์แม่เหล็กของโรเตอร์และสนามแม่เหล็กที่ยุบตัวลงจาก Power coil (หลังจากที่ตัว Transistor หยุดทำงาน)
หมายเลย 23 คือ Bridge Diode ใช้แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรง
หมายเลข 24 คือ Capacitor แบบมีขั้ว ใช้เก็บประจุไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อไว้รอนำไปประจุเข้าแบตเตอรี่ ถ้าค่า C มีขนาดใหญ่ ประจุที่ถูกถ่ายเทเข้าแบตเตอรี่จะมีค่าสูง แบตเตอรี่จะเต็มเร็ว แต่ต้องใช้เวลามากในการอัดประจุเข้า C ดังนั้น ค่า C ที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมกับ Bedini Motor ที่ออกแบบ
หมายเลข 27, 28 คือ Commutator ที่ใช้ในการตัดต่อวงจรเพื่อถ่ายเทประจุจาก C ไปเก็บไว้ใน Charging Battery โดยจังหวะในการประจุรวมทั้งแรงดันที่ใช้ประจุ จะขึ้นกับการทดรอบโดยสายพาน หรือ อาจใช้เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
หมายเลข 29 คือ Charging Battery

รูปที่ 2 แสดงภาพรวมด้าน Top view ของ Bedini Motor (อ้างอิงจากสิทธิบัตร)




จาก 2 คลิป ข้างต้นได้แสดงการทำงาน Bedini Motor แบบ SSG ซึ่งแต่ต่างจาก Bedini Motor จากสิทธิบัตรตรงที่มันใช้ขดลวด Recovery coil ร่วมกับ Power coil ข้อดีของระบบนี้คือ ประหยัดขดลวด แต่ข้อเสียคือเราไม่สามารถแยกวงจรชาร์จแบตเตอรี่ออกจากวงจรกำลังได้

ประโยชน์ของ Bedini Motor

ตามปกติเดิมในการสร้างวงจรขับมอเตอร์ เช่น Brushless Motor เราจะพยายามลดผลเนื่องจาก Back EMF (แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดจากการยุบตัวของสนามแม่เหล็กในขดลวด) เพราะให้แรงดันสูงและอาจทำลายวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ Bedini Motor แสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานที่ต้องการกำจัดนี้ได้ นั่นคือ นำไปชาร์จแบตเตอรี่

รูปที่ 3 แสดงสัญญาณแรงดันที่ตกคร่อม Power coil (ทดสอบโดยผู้เขียนในปี 2015)

จากรูปที่ 3 พบว่าค่าสูงสุดอยู่ที่ 12 V ซึ่งเท่ากับแรงดันที่ใช้ขับ Bedini Motor และค่าต่ำสุดอยู่ที่ 310 V ซึ่งเป็นแรงดันที่เกิดขึ้นหลังจากที่สนามแม่เหล็กบน Power coil เกิดการยุบตัว (Back EMF) เป็นค่าที่สูงมากและสามารถทำลาย Transistor ได้ ถ้าหาว่า Transistor ตัวนั้นมีค่าแรงดัน C-E ต่ำกว่า Back EMF ที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างและผลการทดสอบ Bedini Motor โดยผู้เขียน

รูปที่ 4 แสดงภาพรวมของ Bedini Motor ของผู้เขียน

รูปที่ 5 แสดงวงจรการวัดแรงดัน Trigger Coil และ Power Coil โดยใช้ Differential probe x20

รูปที่ 6 แสดงแรงดันของขดลวด Power coil และ Recovery coil (ค่าในจอต้องคูณด้วย 20)

รูปที่ 7 แสดงวงจรวัดกระแสที่ใช้ประจุแบตเตอรี่ ด้วย Current probe 100 mV/A และตัว Hall sensor สำหรับวัดความเร็วรอบของโรเตอร์

รูปที่ 8 แสดงกระแสที่ใช้ประจุแบตเตอรี่ (อ่านค่าโดยคูณด้วย 100) และแรงดันผลต่างระหว่างตัวเก็บประจุที่ใช้และแบตเตอรี่ที่ถูกประจุ


รูปที่ 9 เปรียบเทียบกระแสที่ใช้ประจุแบตเตอรี่และกระแสที่ Bedini Motor ใช้งาน


คลิปแสดงการทดสอบ Bedini Motor โดยผู้เขียนในปี 2016

สามารถดูคลิปอื่น ๆ ได้ที่: Somsak Elect Youtube Chanel
ติดตามทาง Fackbook, Fanpage, Website

ขอบคุณผู้ร่วมสนับสนุนและติดตามทุก ๆ ท่าน 
😍😍😍

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

การปรับค่า Motor Turning กรณีไม่ทราบข้อมูลของ Stepper Motor สำหรับโปรแกรม March3




Mini CNC 2030 คู่มือภาษาจีนและไม่บอกค่า Step per ที่ถูกต้อง

ตัวผู้เขียนได้ลองซื้อ Mini CNC 2030 จาก Website Aliexpress.com เนื่องด้วยราคาที่ถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับ Mini CNC ที่มีจำหน่ายในบ้านเรา เมื่อของมาถึงเปิดในกล่องก็พอว่าได้ CD 1 แผ่น เมื่อเปิดดูภายในก็ได้ไฟล์เป็นภาษาจีน พร้อมกับวิธีการตั้งค่าในโปรแกรม March3



ตัวอย่างไฟล์ปรับตั้งค่าสำหรับ March3 ที่ได้จากผู้ขาย


ทุกอย่างสามารถปรับตั้งค่าได้ดี แต่ติดปัญหาเฉพาะการตั้งค่า Motor Turning เมื่อทำตามแล้วลองทดสอบเครื่องพบว่าระยะไม่ถูกต้อง แถมยังเป็นภาษาจีนอีก ตัวสำคัญที่สุดในที่นี้คือ ค่า Step per


ตัวอย่างหน้าการปรับ Motor Turning จากคู่มือ

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะค่า Step per เนื่องจากมีความสำคัญที่ทำให้ Stepper motor หมุนในระยะที่ถูกต้อง เช่น สั่งให้ Stepper motor แนวแกน Y เคลื่อนที่ 100 mm จากโปรแกรม หน้างานจริงก็ต้องได้ระยะที่เท่ากัน ถ้าค่า Step per มีถูกต้องกับ Stepper Motor ที่อยู่ในเครื่อง CNC แต่ถ้าไม่ถูกต้อง กรณีเราสั่ง 100 mm จากโปรแกรม หน้างานจริงอาจเคลื่อนที่ได้เพียง 95 mm เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วทั้ง 3 แกน จะใช้ Stepper motor รุ่นเดียวกันและระยะพิท (Pitch) ของแกนหมุนขนาดเท่ากัน

ความหมายของค่า Step per ในหน้าต่าง Motor Turning
เช่น  Step per = 300  นั่นคือ ต้องสั่ง Stepper Motor ทั้งหมด 300 step ถึงจะทำให้ตัวแกนเคลื่อนที่ได้ระยะ 1 mm

การหาค่า Step per 
ผู้เขียนพยายามค้นหาวิธีแก้ ค้นใน google ลองวัดระยพิทของสกรูและข้อมูลของ Stepper motor แต่เมื่อทำตามแล้วก็ใช้ไม่ได้ผล มีความคลาดเคลื่อน จึงได้ทำการวิเคราะห์เอง และเขียนเป็นสมการดังนี้

ตัวอย่าง


ทำการใช้เวอร์เนียหรือไม่บรรทัดวัดหน้างานได้ระยะ 94 mm สามารถคำนวณหาค่า Step per ที่ถูกต้องได้ ดังนี้

ดังนั้น ค่า Step per ที่ถูกต้องมีค่าเท่ากับ 417

หมายเหตุ เพื่อความถูกต้องในการคำนวณควรทดสอบที่ระยะการเคลื่อนที่สูง ๆ เช่น > 100 mm เพื่อให้ได้เห็นค่าความคลาดเคลื่อน

ติดตามสิ่งประดิษฐ์ดีดีได้ที่ TOHighway - ทางหลวงของนักประดิษฐ์  หรือเพจ TOHighway
ช่องยูทูป Somsak Elect